ทำอย่างไรเมื่อกระต่ายมีลูก

การสังเกตว่าแม่กระต่ายตั้งท้องหรือไม่ สามารถทำได้โดยการสังเกตพฤติกรรมและลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไปของกระต่ายตัวเมีย

1. การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม

  • แม่กระต่ายตั้งท้องอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น เช่น การไม่ยอมให้จับตัว การกัด และการขู่ร้องในลำคอ

Source : Youtube ช่อง Guay Mahi

  • เริ่มสร้างรัง กระต่ายตั้งท้องมักดึงขนจากตัวเองหรือหาเศษวัสดุ เช่น ฟาง หญ้า มาสร้างรังในช่วง 1-2 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งท้อง
  • กินอาหารมากขึ้น แม่กระต่ายที่ตั้งท้องอาจกินอาหารมากกว่าปกติเพื่อสะสมพลังงานสำหรับลูกในท้อง
  • นอนมากขึ้น
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น ท้องของกระต่ายจะเริ่มใหญ่ขึ้นหลังตั้งท้องประมาณ 10-14 วัน โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้าย
  • หัวนมขยายใหญ่และชมพูขึ้น: หัวนมของแม่กระต่ายจะเริ่มขยายและมีสีชมพูมากขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการตั้งท้อง

2. พฤติกรรมแม่กระต่ายหลังออกลูก

  • กระต่ายไม่กกลูก (ไม่ดูแลลูก) สาเหตุอาจเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความเครียด สุขภาพ หรือพฤติกรรมตามธรรมชาติของกระต่าย เช่น เพื่อไม่ให้ผู้ล่ารู้ว่าที่อยู่ของลูกคือจุดใด
  • แม่กระต่ายขาดประสบการณ์ แม่ที่เพิ่งคลอดลูกครั้งแรกอาจยังไม่รู้วิธีดูแลลูก
  • กระต่ายจะให้นมลูกในเวลา เช้ามืด และช่วงเย็น (ค่ำ)
  • สิ่งสำคัญคือต้องดูแลทั้งแม่และลูกกระต่ายอย่างเหมาะสม เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีสุขภาพที่ดีและพัฒนาอย่างสมบูรณ์

เตรียมพร้อมการดูแล แม่กระต่ายและลูก

จัดพื้นที่ที่เหมาะสม

  • ที่อยู่ของแม่กระต่ายและลูก:
    • จัดเตรียมกรงที่สะอาดและปลอดภัย และเงียบสงบ
    • ใช้วัสดุปูรองที่นุ่ม เช่น ฟางหรือขนสัตว์ ผ้านุ่มสะอาด เพื่อทำรังสำหรับแม่กระต่าย
    • ไม่ควรมีลมโกรก
    • อย่ารบกวนหรือจับลูกกระต่ายโดยไม่จำเป็นในช่วงแรก เพื่อป้องกันความเครียดของแม่กระต่าย
    • ลูกกระต่ายแรกเกิดจะไม่มีขนและยังลืมตาไม่ได้

3. การให้นม

  • ปกติแม่กระต่ายจะให้นมลูกเพียง 1-2 ครั้งต่อวัน และแต่ละครั้งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ในเวลาเช้ามืด และช่วงค่ำ

Source : Youtube ช่อง Guay Mahi

  • ตรวจสอบว่าลูกกระต่ายมีท้องป่องหรือไม่หลังกินนม หากสังเกตุแล้วมีลักษณะเหี่ยวย่น ท้องไม่ตึง แปลว่าได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ
  • หากแม่กระต่ายไม่ให้นม หรือลูกกระต่ายกินนมไม่เพียงพอ :
    • อาจต้องใช้นมสำหรับลูกกระต่ายที่หาซื้อได้ตามร้านสัตว์เลี้ยง (ไม่ใช้นมวัว) เช่นนมแมว,นมแพะ (มีทั้งแบบน้ำสำเร็จบรรจุกระป๋อง และแบบผงชง) ควรเลือกนมแมวและนมแพะแบบ 100% เท่านั้น
    • หรือจับแม่กระต่ายมานอนหงายท้อง แล้ววางลูกกระต่ายบนท้องแม่กระต่ายให้ลูกกินนม (ควรระวังแม่กระต่ายจะดิ้น และถีบลูกได้)
    • หรือสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสม

ตัวอย่างนมสำหรับสัตว์แบบน้ำบรรจุกระป๋อง และ นมผงแบบชงสำหรับสัตว์

4. อุปกรณ์สำหรับป้อนนมลูกกระต่าย

  • ไซริงค์พร้อมจุกป้อนนม
  • แก้วสำหรับให้นม
  • ทิชชู่สำหรับซับน้ำนม (ป้องกันน้ำนมเข้าจมูก ป้องกันการสำลัก)
  • ผ้าห่อตัว (เพื่อให้ลูกกระต่ายนิ่งขึ้น)

5. วิธีป้อนนม

  • เตรียมนมสำหรับป้อนลูกกระต่ายในภาชนะที่สะอาด
  • เตรียมอุปกรณ์ป้อนนม เช่น ไซริงค์พร้อมจุกป้อนนม หรืออุปกรณ์อื่นๆตามความเหมาะสม
  • นำผ้ามาห่อตัวลูกกระต่ายเว้นช่วงหัว แล้วจับลูกกระต่ายให้อยู่ในท่ายืน (ไม่จำเป็นต้องมีผ้าก็ทำได้)
  • ป้อนนมทีละเล็กน้อย พร้อมคอยใช้ทิชชู่ซับน้ำนมบริเวณปาก และจมูก ป้องกันการสำลัก และน้ำนมเข้าจมูก

สาธิตวิธีกินนมของลูกกระต่าย

Source : Youtube ช่อง ccexotichouse

  • หรือ จับลูกกระต่ายมาวางบนท้องแม่กระต่ายเพื่อให้ลูกกระต่ายได้กินนม โดนการจับให้แม่กรต่ายอยู่ในท่านอนหงาย (ข้อควรระวัง แม่กระต่ายบางตัวค่อนข้างดิ้นแรง และ ถีบ เตะ ลูกกระต่าย)

6. อาหารและน้ำสำหรับแม่กระต่าย

  • แม่กระต่ายต้องการพลังงานมากขึ้นหลังคลอด
  • ให้หญ้าแห้ง (เช่น ทิโมธี , หญ้าแห้ง อัลฟาฟ่า) และอาหารเม็ดคุณภาพดี
  • มีน้ำสะอาดให้แม่กระต่ายตลอดเวลา

หญ้าแห้งทิโมธี,หญ้าแห้งอัลฟาฟ่า,น้ำดื่มสะอาด

7. ช่วงเวลาการหย่านม

ช่วงเวลาหย่านมของลูกกระต่ายจะเริ่มต้นประมาณอายุ 3-4 สัปดาห์ และกระต่ายจะหย่านมจากแม่ได้เต็มที่เมื่ออายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ (ประมาณ 1-2 เดือน) ซึ่งในช่วงนี้ลูกกระต่ายจะค่อยๆ เริ่มกินอาหารแข็งเช่น หญ้าแห้ง ผักสด และอาหารกระต่ายที่เหมาะสม

ขั้นตอนการหย่านมของลูกกระต่าย:

  • อายุ 3-4 สัปดาห์: ลูกกระต่ายเริ่มกินอาหารแข็ง เช่น หญ้าแห้ง หรือผักสด เล็กน้อยร่วมกับนมแม่ โดยการให้อาหารเสริมจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารของพวกมันเริ่มปรับตัว
  • อายุ 4-6 สัปดาห์: ค่อยๆ ลดปริมาณการให้นมแม่ลง ขณะที่ลูกกระต่ายเริ่มกินอาหารแข็งได้มากขึ้น และได้รับการดื่มน้ำสะอาด
  • อายุ 6-8 สัปดาห์: ลูกกระต่ายจะหย่านมได้สมบูรณ์ และสามารถกินอาหารแข็งได้เต็มที่ โดยไม่ต้องการนมแม่อีกต่อไป